>> เปิดตัว Lily Nanoemulsion Homogenizer machine


14 มิถุนายน 2566 – มหาวิทยาลัยขอนแก่น จับมือ ลิลลี่ ฟาร์มา ประกาศความสาเร็จอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว Lily Nanoemulsion Homogenizer machine เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง ปฏิวัติรูปแบบวงการอุตสาหกรรม ยกระดับคุณภาพ อาหาร ยา และเครื่องสาอาง โดยการใช้เทคโนโลยีนาโน อิมัลชั่น ที่สามารถนาสารออกฤทธิ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงนโยบาย ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการสร้าง start up โดยร่วมทุนกับภาคเอกชน ซึ่งให้ภาคเอกชนเป็นผู้ริเริ่ม โดยเริ่มจากมุมมองความต้องการของตลาดในผลิตภัณฑ์นั้นๆ และย้อนกลับมาดูกระบวนการผลิตว่าสามารถแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีได้หรือไม่ หากเป็นไปได้ก็จะกลับมาค้นหากระบวนการวิจัยที่ทาให้เกิดผลิตภัณฑ์ซึ่งมีคุณสมบัติเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด ซึ่งเราเรียกแนวคิดนี้ว่า เป็นการวิจัยสู่ตลาด โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ทาการวิจัย การผลิตและนาออกสู่ตลาด ส่วนบทบาทของมหาวิทยาลัยจะทาหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ทางการวิจัยและการทดสอบผลิตภัณฑ์ รวมถึงจัดทีม อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละฝ่ายเพื่อให้คาปรึกษาแก่ภาคเอกชน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีใหม่ในการทา start up ของมหาวิทยาลัยโดยเริ่มดาเนินการร่วมมือกับทางบริษัทมิสลิลลี่ มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 และได้ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนในปี 2565 ซึ่งบริษัทร่วมทุนได้เน้นเทคโนโลยีทางด้านนาโนอิมัลชั่นทาให้เกิดผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น N-Dro care mouth spray ซึ่งทาให้เกิดรายได้มากกว่า 40 ล้านบาท และมีกาไรหลังหักภาษีกว่า 10 ล้านบาท

นอกจากนี้บริษัทร่วมทุนได้นาความรู้มาต่อยอดสู่การผลิตเครื่องจักรนาโนอิมัลชั่นจนประสบความสาเร็จเป็นรายแรกของกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยเพื่อนาความรู้จากงานวิจัยออกสู่ตลาด

ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา กล่าวถึงทิศทางของเทคโนโลยีนาโนอิมัลชั่น และงานวิจัยในหลายสาขาได้ให้ความสาคัญกับการนาส่งสารในรูป แบบนาโนอิมัลชั่น ซึ่งเป็นการนาสารออกฤทธิ์ให้อยู่ในส่วนของน้าหรือน้ามัน ที่มีขนาดอนุภาคนาโน โดยถูกผสานเข้าด้วยสารอิมัลซิไฟเออร์ ซึ่งเป็นการนาส่งสาร ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว และใช้สารในปริมาณน้อย ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ สิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสัตว์ ซึ่งปัจจุบัน ในหลายอุตสาหกรรมได้พยายามที่จะผลิต ผลิตภัณท์ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่นออกสู่ ท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเกษตรเช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงและยากาจัดวัชพืช อุตสาหกรรมเครื่องสาอางค์ อุตสาหกรรมอาหารและ ยาสัตว์ และอื่นๆ แต่ประเทศไทยยังมีปัญหาในการผลิตเนื่องจากเครื่องจักรดังกล่าวมีราคาที่สูงมาก

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมมือกับ บริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา ในการสร้าง กระบวนการผลิต เทคโนโลยีขั้นสูง นาโนอิมัลชั่น โฮโมจีไนเซอร์ จากห้องปฏิบัติการสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย จากทีมงานนักวิจัยและวิศวกร ของบริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา จากัด ที่สามารถนาข้อมูลและประสบการณ์จากห้องวิจัย ที่มีข้อจากัด มาพัฒนาใช้ ในเชิงอุตสาหกรรม( Production Scale ) มุ่งหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับวงการอุตสาหกรรมที่ ใช้เทคโนโลยีนาโนอิมัลชั่น ซึ่งสามารถนาสารออกฤทธิ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเรากาลังทาการวิจัย ทั้ง ยาสัตว์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และยากาจัดวัชพืช รวมไปถึงอาหารเสริมที่อยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่น

นาย เรวัต จินดาพล CEO บริษัท KKU Miss Lily Holding จากัด เปิดเผยว่า “จากการ ทางานร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้มุ่งเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยี นาโนอิมัลชั่น โดยเริ่มตั้งแต่ต้นน้าจนถึงปลายน้า เพื่อให้เราได้มี Technical know how ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบในห้องปฏิบัติการจนสามารถนาไปสู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมนั้นจะต้องใช้เครื่องจักรที่สามารถทาให้สารแตกตัวเป็นอนุภาคระดับนาโน โดยทั่วไปในต่างประเทศจะใช้เครื่อง High pressure nano homogenizer ซึ่งจะมีราคาแพงมาก เช่น ขนาด 300-500 ลิตร จะมีราคา หลัก ร้อยล้านบาท ทาให้อุตสาหกรรมทั่วไปมีข้อจากัดในการลงทุนเครื่องจักรเหล่านี้ ทางทีมวิศวกรของบริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ KKU Miss Lily Holding ได้พัฒนาเครื่องจักรในรูปแบบ High speed nano homogenizer และ เครื่องจักรพ่วง จนทาให้เราเป็นผู้นาในการผลิตเครื่องจักรนาโนอิมัลชั่นในกลุ่มอาเซียน เรามีนโยบายที่จะนาเครื่องจักรนี้ไปร่วมมือกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่นโดยบริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา จะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่นและนาไปสู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมโดยการสนับสนุนของทางบริษัทและมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้ประเทศไทยได้กลายเป็นผู้นาทางด้านเทคโนโลยีนี้ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในทางเศรษฐกิจ สาหรับองค์กรที่สนใจสามารถติดต่อ บริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา จากัด คุณศิรินทร์ ใต้ชัยภูมิ โทร 086-319-0270

นาย ฐาปกรณ์ อุประ Chief of Technology officer บริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา จากัด กล่าวว่า จุดเด่นของเครื่อง High speed nano homogenizer คือ เทคนิคการเฉือนอนุภาค (Shearing) ด้วยใบพัดปั่นที่มีความเร็วสูง และมีหัวปั่น พร้อมกัน 3 หัว (Vertical Multiple Rotor Stator Head) ซึ่งทาให้อนุภาคมีขนาดที่เล็กลงกว่า 100 นาโนเมตร และ มีความสม่าเสมอของขนาดเนื่องจากมีหัวปั่นที่เรียงตัวอยู่ 3 ระดับในถัง นอกจากนี้เครื่องจักรพ่วงอื่นๆ เช่น Oil mixer และ Water mixer ยังมีถังน้าควบคุมอุณหภูมิในระหว่างกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถผลิตในระบบสุญญากาศได้ ทาให้เครื่องจักรดังกล่าวสามารถผลิตสารนาโนอิมัลชั่นให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ห้องวิจัยได้กาหนดไว้ นอกจากนี้เทคโนโลยี High speed nano homogenizer ยังช่วย ให้ประหยัดเวลาและพลังงานในการผลิต รวมถึง ประหยัดต้นทุนในการบารุงรักษาน้อยลงกว่าระบบอื่นมาก